ช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าบุคคลากรทางการแพทย์เป็นผู้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุด เนื่องจากจะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อและทำหน้าดูแลรักษาผู้ป่วยอยู่แทบตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ทางทีมงานวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของแต่ละโรงพยาบาลรวมทั้งบริษัทเอกชนต่างๆ ได้พยายามนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาใช้งาน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระและยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้แก่บุคคลากรทางการแพทย์ได้อีกด้วย
ในวันที่ 16 พ.ค. 2020 ที่ผ่านมา ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ระบุว่า ขณะนี้โรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ปฏิบัติการ เพื่อช่วยเหลือบุคคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย โดยใช้ในปฏิบัติการส่งอาหารและยาให้แก่ผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล หลังจากที่ได้ทำการทดลองใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้เข้ามาร่วมปรับปรุงและพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นใหม่เป็นรุ่นที่ 2 โดยได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีในสายการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์ เพื่อมีความเหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น
โดนหุ่นยนต์ CISTEMS รุ่นที่ 2 นี้จะมีขนาดกระทัดรัดมากกว่ารุ่นแรกสามารถใช้ดูแลผู้ป่วยทั้งการส่งอาหารและการส่งยาเวชภัณฑ์ รวมทั้งการส่งอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านหน้าจอที่ติดตั้งที่หุ่นยนต์ได้ ทำให้บุคคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องใกล้ชิดผู้ป่วยแต่ก็สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้
หุ่นยนต์ CISTEMS รุ่นที่ 2 ยังมีจุดเด่นเกี่ยวกับการใช้ระบบอินเตอร์เน็ต (IoT) เข้ามาใช้ในการควบคุมการทำงาน โดยสามารถควบคุมได้จากระยะไกลข้ามจังหวัดได้
ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยต่อยอดระบบการให้ความช่วยเหลือสำหรับการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยข้ามจังหวัดได้
Credit : Many Thanks to ....
ในวันที่ 16 พ.ค. 2020 ที่ผ่านมา ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ระบุว่า ขณะนี้โรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ปฏิบัติการ เพื่อช่วยเหลือบุคคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย โดยใช้ในปฏิบัติการส่งอาหารและยาให้แก่ผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล หลังจากที่ได้ทำการทดลองใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้เข้ามาร่วมปรับปรุงและพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นใหม่เป็นรุ่นที่ 2 โดยได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีในสายการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์ เพื่อมีความเหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น
โดนหุ่นยนต์ CISTEMS รุ่นที่ 2 นี้จะมีขนาดกระทัดรัดมากกว่ารุ่นแรกสามารถใช้ดูแลผู้ป่วยทั้งการส่งอาหารและการส่งยาเวชภัณฑ์ รวมทั้งการส่งอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านหน้าจอที่ติดตั้งที่หุ่นยนต์ได้ ทำให้บุคคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องใกล้ชิดผู้ป่วยแต่ก็สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้
หุ่นยนต์ CISTEMS รุ่นที่ 2 ยังมีจุดเด่นเกี่ยวกับการใช้ระบบอินเตอร์เน็ต (IoT) เข้ามาใช้ในการควบคุมการทำงาน โดยสามารถควบคุมได้จากระยะไกลข้ามจังหวัดได้
ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยต่อยอดระบบการให้ความช่วยเหลือสำหรับการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยข้ามจังหวัดได้
Credit : Many Thanks to ....
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/ondemand/พบหมอรามาฯ-กรณีฉุกเฉิน/
https://www.sanook.com/auto/75779/
https://www.prachachat.net/public-relations/news-443518
https://www.autostation.com/car/toyoa-cistems-csr
https://med.mahidol.ac.th/th/news/events/18may2020-1417
https://news.thaipbs.or.th/content/292549
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้